ไฟลัมนีมาโทดา

"สิ่งมีชีวิตที่มีเนื้อเยื่อสามชั้น และมีลำตัวกลม"

4. ไฟลัมนีมาโทดา
เป็นกลุ่มที่มีเนื้อเยื่อที่แท้จริง และเป็นโพรโทสโทเนียแบบโทรโกฟอร์

โครงสร้างของไฟลัมนีมาโทดา

มีลักษณะคล้ายคลึงกับแพลทิเฮลมินทิส


    นีมาโทดา (Nemotoda) หรือรู้จักกันในชื่อของ Aschelminthes เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตประเภทหนอนตัวกลมที่มีช่องลำตัวเทียม (Pseudocoelom) แต่ยังไม่มีข้อปล้อง ซึ่งมันลักษณะค่อนข้างจะคล้ายคลึงกับกลุ่มสิ่งมีชีวิตปีะเภทหนอนตัวแบน


เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่มีระบบทางเดินอาหารที่สมบูรณ์


    กลุ่มของหนอนตัวกลมมีทางเดินอาหารที่สมบูรณ์ (Alimentary Canal) คือกินอาหารทางปาก (Mouth) และขับถ่ายออกมาทางทวารหนัก (Anus) แต่ยังไม่มีระบบโลหิต และระบบหายใจ


เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่มีการสืบพันธ์แบบอาศัยเพศ


    กลุ่มของหนอนตัวกลมถือเป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่สามารถสืบพันธ์โดยอาศัยเพศ นอกจากนี้หนอนตัวกลมยังมีระบบประสาทแบบวงแหวน (Nerve Ring) อยู่บริเวณรอบคอต่อกับเส้นประสาทที่ยาวทั้งลำตัว


ลักษณะสำคัญของหนอนตัวกลม


    1. ลำตัวกลม ยาว เรียว แหลมตรงปลายไม่มีข้อปล้อง และผิวลำตัวปกคลุมด้วยสารคิวติน (Cutin) เพื่อป้องกันน้ำย่อยของ Host บางชนิดมีหนามปกคลุมผิวลำตัว
    2. ทางเดินอาหารสมบูรณ์ คือ ปากและทวารหนัก
    3. ไม่มีระบบเลือดและอวัยวะหายใจโดยเฉพาะ
    4. สมมาตรเหมือนกัน 2 ซีก
    5. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น
    6. มีประสาทวงแหวนและประสาทตามยาว 5 เส้น
    7. มีเฉพาะกล้ามเนื้อตามยาว
    8. แยกเพศเป็นตัวผู้และตัวเมีย (Dioecious)


สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งได้ 2 คลาส


    1. Class Adenophorea สมาชิกส่วนใหญ่ดำรงชีวิตอิสระ เช่น พยาธิแส้ม้าหนอนโคลน
    2. Class Secernentea ส่วนใหญ่ดำรงแบบปรสิต เช่น หนอนน้ำส้ม พยาธิโรคเท้าช้าง


ภาพประกอบไฟลัมแพลทิเฮลมินทิส
1 / 6
2 / 6
3 / 6
4 / 6
5 / 6
6 / 6

CLASS SECERNENTEA<br>พยาธิไส้เดือน
CLASS SECERNENTEA<br>พยาธิเส้นด้าย
CLASS SECERNENTEA<br>พยาธิแส้ม้า
CLASS SECERNENTEA<br>พยาธิตัวจี๊ด
CLASS ADENOPHOREA<br>หนอนด้วง
CLASS SECERNENTEA<br>พยาธิไส้เดือนฝอย