9. ไฟลัมคอร์ดาตา
มีลักษณะสําคัญที่พบในวัฏจักรชีวิตในระยะเอ็มบริโอดังนี้
1.นีโทคอร์ด (Notathord) มีลักษณะเป็นแท่งยาวตลอดความยาวของลําตัว มีความยืดหยุ่นตัวอยู่ระหว่างท่อทางเดินอาหาร และท่อประสาท เป็นลักษณะที่พบในระยะเอ็มบริโอ นอกจากนี้ช่องเหงือกของสัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาทุกชนิด และในบางชนิด ยังคงพบในระยะตัวเต็มวัย เช่น แอมฟิออกซัส และปลาปากกลม
2.ท่อประสาทกลวงที่ด้านหลัง เจริญมาจากเนื้อเยื่อชั้นเอ็กซ์ไทเดิม พบบริเวณด้านหลังเหนือโนโทคอร์ดในระยะเอ็มบริโอ ซึ่งจะพัฒนาต่อไปเป็นสมอง และไขสันหลังในระยะตัวเต็มวัย
3.ท่อประสาทกลวงที่ด้านหลัง ช่องเหงือกอยู่บริเวณคอหอย โดยอยู่เป็นคู่ๆ ทําหน้าที่กรองอาหารในน้ำที่ไหลผ่านเข้ามาพบในระยะตัวอ่อนของสัตว์กลุ่มนี้ทุกชนิด และมีการปรับเปลี่ยนไปทําหน้าที่อื่นๆ ในระยะตัวเต็มวัยต่อไป เช่น เป็นท่อยูสเตเชียน ต่อมทอนซิล ต่อมไทรอยด์ และพาราไทรอยด์ในคน เป็นต้น แต่ในสิ่งมีชีวิตบางชนิด เช่น ฉลาม กระเบน จะยังคงมีช่องเหงือกอยู่ตลอดชีวิต
4.หาง เป็นส่วนที่อยู่ถัดจากทวารหนักบริเวณท้ายลําตัว พบในสัตว์ส่วนใหญ่ในไฟลัมนี้
สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง และสัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ในไฟลัมคอร์ดาตาที่ไม่มีกระดูกสันหลัง
สัตว์กลุ่มนี้ยังไม่มีโครงร่างแข็งค้ำจุนภายในร่างกาย ตัวอย่างเช่น
1. ยูโรคอร์เดต
ยูโรคอร์เดต (Uroshordlite) เป็นสัตว์ที่มีถุงหุ้มตัวประกอบด้วยสารคล้ายเซลลูโลส เมื่อตัวเต็มวัยจะไม่มีในโทคอร์ด ไม่มีเส้นประสาทขนาดใหญ่ บริเวณหลัง และหางจะหดหายไปในระยะตัวเต็มวัย ตัวอย่างเช่น เพรียงหัวหอม เป็นต้น
2. เซฟาโลคอร์เดด
เซฟาโลคอร์เดด (Cephalochordata) เป็นสัตว์ที่ระยะตัวเต็มวัยมีท่อประสาทขนาดใหญ่ ที่บริเวณหลังมีโนโทคอร์ดยาวตลอดลําตัว และมีตลอดชีวิต มีช่องเหงือกที่คอหอย และมีหาง ตัวอย่างของสัตว์กลุ่มนี้ ได้แก่ แอมฟิออกซัส ซึ่งเป็นสัตว์ขนาดเล็กอาศัยอยู่ในบริเวณน้ำตื่นบริเวณชายฝั่งทะเล
สัตว์มีกระดูกสันหลัง
สัตว์ที่มีกระดูกสันหลัง (Vertebrate) แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร และสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร
1. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร
สัตว์มีกระดูกสันหลังที่ไม่มีขากรรไกร (Agnatha) เป็นสัตว์น้ำ ได้แก่ ปลาไม่มีขากรรไกร ซึ่งส่วนใหญ่จะสูญพันธุ์ไปแล้ว ปลาไม่มีขากรรไกรที่พบในปัจจุบันคือ ปลาปากกลม ซึ่งได้แก่ แฮกฟิช (Hanglish) เป็นปรสิตภายนอกของปลาหลายชนิด และแอมเพรย์ (Larmrey) ซึ่งมีรูปร่าง คล้ายปลาไหล มีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อน และไม่มีครีบอยู่เหมือนปลาทั่วไป
2. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีขากรรไกร
ปลามีขากรรไกรที่พบในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ปลากระดูกอ่อน และปลากระดูกแข็ง
สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 คลาส ได้แก่
1.คลาสคอนดริคไทอิส
สิ่งมีชีวิตในคลาสคอนดริคไทอิส (Class Chondrichthyes) คือ ปลากระดูกอ่อน โดยมีโครงร่างเป็นกระดูกอ่อนที่ยืดหยุ่นตัวดี มีขากรรไกร และครีบคู่ที่เจริญดี เช่น กระเบน และฉลาม มีการแลกเปลี่ยนแก๊สโดยใช้เหงือกภายนอก มีเกล็ดที่คมปกคลุมผิวหนัง มีการปฏิสนธิภายใน และออกลูกเป็นตัว
2.คลาสออสติอิคไทริส
สิ่งมีชีวิตในคลาสออสติอิคไทริส (Class Osteichthyes) คือ ปลากระดูกแข็ง สามารถดํารงชีวิตทั้งในน้ำจืด และน้ำเค็ม มีโครงร่างภายในเป็นกระดูกแข็งที่มีสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟส ส่วนใหญ่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม มีครีบคู่ 2 คู่ คือ ครีบอก และครีบสะโพก หายใจโดยใช้เหงือกมีแผ่นปิดเหงือก (Operculum) และมีถุงลม (Air Bladder) ช่วยควบคุมการลอยตัวในน้ำ ส่วนใหญ่มีการปฏิสนธิภายนอก
ปลากระดูกแข็งส่วนใหญ่ที่พบในปัจจุบันตดำรงชีวิตในน้ำ โดยอาศัยแก๊สออกซิเจนที่ละลายในน้ำหายใจ แต่มีปลากระดูกแข็ง 2 กลุ่ม คือ ปลาที่มีครีบเนื่อ และปลาปอดที่สามารถหายใจจากอากาศได้ในช่วงเวลาสั้นๆ ปลาทั้ง 2 กลุ่มนี้เป็นหลักฐานที่สนับสนุนการเกิดวิวัฒนาการเพื่อมาดํารงชีวิตบนพื้นดิน โดยการพัฒนาลุงลมไปทําหน้าที่เป็นปอด และครีบอกมีวิวัฒนาการเป็นขาในสัตว์บกนั่นเอง
3.คลาสแอมฟิเบีย
สิ่งมีชีวิตในคลาสแอมฟิเบีย (Class Amphibia) คือ สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Lumphibian) ปัจจุบันพบประมาณ 4,800 สปีชีส์ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ กลุ่มซาลามานเดอร์ กลุ่มกบ และกลุ่มงูดิน
สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบกเป็นสัตว์เลือดเย็น มีผิวหนังเปียกชื้นทําหน้าที่แลกเปลี่ยนแก๊ส ไม่มีเกล็ด ปกคลุม มีการปฏิสนธิภายนอก ตัวอ่อนอาศัยอยู่ในน้ำ และหายใจด้วยเหงือกภายนอก เมื่อเจริญเป็นตัวเต็มวัยจะดํารงชีวิตบนบก และใช้ปอดในการหายใจ ยกเว้นซาลามานเดอร์บางชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำตลอดชีวิต
กบ อึ่งอ่าง คางคก มีขาหลังที่แข็งแรงสามารถกระโดดได้ไกล นอกจากนี้กบยังสามารถเปลี่ยนสีที่ผิวหนังเพื่อการพรางตัว และยิ่งอ่างสามารถปล่อยสารเมือกจากต่อมที่ได้ผิวหนัง ทําให้มีความสามารถในการหลบหลีกอันตรายจากผู้ล่าที่มีขนาดใหญ่ได้ดี
4.คลาสเรปที่เลีย
สิ่งมีชีวิตในคลาสเรปทีเลีย (Class Raptilia) คือ สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) เป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังกลุ่มแรกที่มีการดํารงชีวิตบนบกอย่างแท้จริง
สัตว์เลื้อยคลานมีผิวหนังปกคลุมด้วยสารเคราทิน (Keratin) เพื่อป้องกันการสูญเสียน้ำ ออกจากร่างกาย มีการหายใจโดยใช้ปอด มีการปฏิสนธิภายในร่างกายเพศเมีย แล้วสร้างเปลือกมาห่อหุ้มไข่ และวางไข่นอกร่างกายเพศเมีย
สัตว์เลื้อยคลานที่พบในปัจจุบัน เช่น เต่า ตะพาบน้ำ จิ้งจก ตุ๊กแก จิ้งเหลน และจระเข้
5.คลาสเอเวส
สิ่งมีชีวิตในคลาสเอเวส (Class Aves) คือ สัตว์ปีก มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลาน โดยนกเป็นสัตว์เลือดอุ่นที่มีการปรับเปลี่ยนรูปร่างเพื่อช่วยในการบินอย่างมีประสิทธิภาพ โดยกระดูกมีรูพรุน ทําให้มีน้ำหนักเบา แต่แข็งแรง มีการปรับเปลี่ยนอวัยวะ ที่ไม่จําเป็นต้องให้มีขนาดเล็กลง มีการปฏิสนธิภายใน และออกลูกเป็นไข่
6.คลาสแมมมาเลีย
สิ่งมีชีวิตในคลาสแมมมาเลีย (Class Mammalia) คือ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม (Mammal) ได้มีวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อย โดยสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในเพศเมียทุกชนิดมีต่อมน้ำนมที่ทําหน้าที่ ผลิตน้ำนมสําหรับเลี้ยงดูลูกอ่อน และมีขนปกคลุมลําตัว เนื่องจากเป็นสัตว์เลือดอุ่นอุณหภูมิของร่างกายจึงค่อนข้างจะคงที่ มีการปฏิสนธิภายในร่างกาย และเกือบทุกชนิดออกลูกเป็นตัว โดยตัวอ่อนจะเจริญอยู่ภายในมดลูก และได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านรกที่เชื่อมระหว่างตัวอ่อนกับแม่
สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมในปัจจุบันแบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. กลุ่มมอโนทรีม (Mammotreimes) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีลักษณะโบราณคือ ออกลูกเป็นไข่ แต่มีขน และต่อมน้ำนม ตัวอ่อนฟักออกจากไข่แล้วจะเลียน้ำนมบริเวณหน้าท้องของแม่กิน ได้แก่ ตุ่นปากเป็ด และตัวกินมดมีหนาม เป็นสัตว์ที่พบเฉพาะในประเทศออสเตรเลีย และนิวกีนีเท่านั้น
2. กลุ่มมาร์ชเซียล (Marsurials) สัตว์กลุ่มนี้จะตั้งท้องในระยะเวลาที่สั้นมาก ทําให้ลูกอ่อนที่คลอดออกมา มีขนาดเล็ก และจะคลานเข้าไปอยู่ในถุงหน้าท้องของแม่ ซึ่งภายในจะมีต่อมน้ำนมที่มีหัวนมสําหรับให้ลูกอ่อนดูดนม ลูกจะอยู่ในถุงหน้าท้องจนกว่าจะเจริญเติบโตเต็มที่จึงจะออกจากถุงหน้าท้องของแม่ สัตว์กลุ่มนี้ เช่น โอพอสซัม จิงโจ้ และโคอาลา เป็นต้น
3. กลุ่มยูเทเรียน (Eutherians) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมที่มีรก และมีระยะเวลาในการตั้งท้องนานกว่ามาร์ซเฟียล ตัวอ่อนจะมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์ภายในมดลูกของแม่ และได้รับสารอาหารจากแม่ผ่านทางรก ได้แก่ สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมส่วนใหญ่ รวมทั้งสัตว์กลุ่มไพรเมด
สิ่งมีชีวิตกลุ่มไพรเมต
ไพรเมต (Primuts) เป็นสัตว์ที่อาศัยอยู่บนต้นไม้เป็นส่วนใหญ่ ได้แก่ ลิงลม กระแต ลิง ชะนี อุรังอุตั้ง ชิมแปนซี และมนุษย์ สัตว์กลุ่มนี้มีมือ และเท้าสําหรับยึดเกาะ นิ้วหัวแม่มือพันขวางได้ มีสมองขนาดใหญ่ มีขากรรไกรสั้น ทําให้ใบหน้าแบน มีตาที่ใช้มอง ไปข้างหน้า มีเส้นแบนทั้งนิ้วมือและนิ้วเท้า ซึ่งพัฒนาดีกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมชนิดอื่น มีพฤติกรรมในการเลี้ยงลูกอ่อน และพฤติกรรมทางสังคมที่ซับซ้อนขึ้น
สิ่งมีชีวิตในกลุ่มไพรเมตมีวิวัฒนาการที่สามารถแบ่งออกเป็น 2 สาย คือ โพรซิเนียน (Proximian) และ แอนโทรพอยด์ (Anthropold)
1. โพรซิเมียน (Proximian) เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตระยะแรกเริ่มที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ ลําตัวมีขนาดเล็ก ตากลมโต มีนิ้ว 4 นิ้ว และออกหากินในเวลากลางคืน สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ลิงลม หรือนางอาย และลิงทาร์ซิเออร์ พบอยู่ในเขตร้อนแถบแอฟริกาและเอเชียใต้
2. แอนโทรพอยด์ (Anthropold) เป็นสัตว์กลุ่มไพรเมตมีนิ้วมือ 5 นิ้ว มองเห็นได้ดีในเวลากลางวัน สมองเริ่มมีขนาดใหญ่ และหน้าผากแบน สัตว์ในกลุ่มนี้ ได้แก่ ถึงมีหาง ถึงไม่มีทาง และมนุษย์