ไฟลัมอาร์โทรโพดา

"สิ่งมีชีวิตประเภทแมลงที่สามารถพบได้ทุกแห่งบนโลก"

6. ไฟลัมอาร์โทรโพดา

โครงสร้างของไฟลัมอาร์โทรโพดา

กลุ่มโพรโทสโทเนียและตัวอ่อนมีการลอกคราบ


    เป็นสิ่งมีชีวิตที่กลุ่มใหญ่ที่สุดในอาณาจักรสัตว์ โดยมีลักษณะเป็นรยางค์ต่อกันเป็นข้อๆ และยื่นออกมาจากแต่ละปล้อง (Jointed Appendage) เช่น กุ้ง, กั้ง, ปู, ตะขาบ, กิ้งกือ และแมลงต่างๆ ซึ่งสิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้ดีทำให้พบได้แทบทุกพื้นที่บนโลก จากการมีโครงสร้างร่างกายที่แข็งแรง ระบบประสาทที่ดี และอวัยวะรับรู้ความรู้สึกหลายชนิด นอกจากนี้มีการแบ่งสัดส่วนของร่างกายเป็นข้อปล้องชัดเจน 3 ส่วน คือ หัว (Head), อก (Thorax) และท้อง (Abdomen) โดยระบบหมุนเวียนโลหิตจะเป็นแบบปิด และยังประกอบไปด้วยหัวใจ เลือด และแอ่งเลือด (Hemocoel)


ลักษณะสำคัญของสัตว์ในไฟลัมอาร์โทรโพดา


    1. มีสมมาตรแบบผ่าซีก
    2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น และมีช่องตัวแบบแท้จริง
    3. ลำตัวมีลักษณะเป็นปล้อง และแบ่งออกเป็นส่วนๆ โดยทั่วไปแล้วมี 3 ส่วน คือ ส่วนหัว (Head) ส่วนอก (Thorax) และส่วนท้อง (Abdomen) เช่น พวกแมลง แต่บางชนิดส่วนหัว และส่วนอกจะรวมกันเป็นส่วนเดียวแยกออกจากกันไม่ได้ เรียกว่า เซฟาโลทอแรกซ์ (Cephalothorax) เช่น กุ้ง ปู นอกจากนี้ในพวกกิ้งกือ และตะขาบ ส่วนของอกและท้องจะมีลักษณะเหมือนกัน
    4. มีรยางค์ยื่นออกจากลำตัวเป็นคู่ๆ เช่น ขาเดิน ขาว่ายน้ำ อวัยวะส่วนปาก หนวด ปีก และรยางค์เหล่านี้มักมีลักษณะต่อกันเป็นข้อๆ
    5. มีโครงร่างภายนอก (Exoskeleton) เป็นสารจำพวกไคทิน (Chitin) แข็งหุ้มรอบตัว ดังนั้นในขณะที่มีการเจริญเติบโต สัตว์ในไฟลัมนี้หลายชนิดจึงต้องมีการลอกคราบ (Molting) เพื่อเอาเปลือกเก่าซึ่งมีขนาดเล็กออก แล้วสร้างเปลือกใหม่ที่มีขนาดใหญ่กว่าขึ้นมาแทน
    6. ทางเดินอาหารเป็นแบบสมบูรณ์ มีปาก และทวารหนัก สำหรับส่วนปากมีอวัยวะที่ช่วยในการกินอาหาร และมีการดัดแปลงไป เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพของอาหาร เช่น มีปากแบบกัดกิน ดูดกิน เจาะดูด เป็นต้น
    7. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นระบบเปิด (Open Circutory Sysytem) เมื่อเลือดไหลออกจากหัวใจเทียม (Pseudoheart) แล้วจะไหลไปตามเส้นเลือด ต่อจากนั้นจะไหลเข้าสู่ช่องว่างในลำตัว (Hemocoel) แล้วไหลกลับเข้าสู่หัวใจอีก จะเห็นได้ว่าเลือดไม่ได้อยู่ภายในหัวใจ และเส้นเลือดตลอดเวลา แต่มีบางระยะที่เลือดไหลออกมาอยู่นอกเส้นเลือด จึงเรียกระบบการหมุนเวียนแบบนี้ว่า ระบบเปิด นอกจากนี้สัตว์กลุ่มนี้มีเลือดเป็นสีฟ้าอ่อน หรือไม่มีสี เนื่องจากมีสารเฮโมไซยานิน (Hemocyanin) เป็นองค์ประกอบ หรือมีสีแดง เนื่องจากเฮโมโกลบิน (Hemoglobin) เป็นองค์ประกอบ
    8. มีระบบขับถ่ายเป็นลักษณะเฉพาะของกลุ่ม เช่น แมลงมีมัลพีเกียนทูบูล (Malpighain Tuble) ซึ่งเป็นท่ออยู่ที่ทางเดินอาหารโดยเป็นอวัยวะขับถ่าย กุ้งมีกรีนแกลนด์ หรือต่อมเขียว (Green gland) ที่โคนหนวดทำหน้าที่ขับถ่าย
    9. ระบบหายใจ ประกอบด้วย อวัยวะหายใจหลายชนิด ในพวกที่อยู่ในน้ำ เช่น พวกกุ้ง ปู หายใจด้วยเหงือก (Gill) พวกแมลงหายใจได้ด้วยระบบท่อลม (Tracheal System) ที่แทรกอยู่ทั้งตัว แมงมุมหายใจด้วยแผงปอด (Book Lung) ที่บริเวณส่วนท้อง ซึ่งมีลักษณะเป็นแผ่นบางๆ ซ้อนกันอยู่หลายชั้น เป็นต้น
    10. ระบบประสาทมีปมประสาทที่หัว 1 คู่ และมีเส้นประสาททางด้านท้อง (Ventral Nerver Cord) ทอดไปตามความยาวของลำตัว 1 คู่ และมีอวัยวะสัมผัสเจริญดี เช่น ตาเดี่ยว ตาประกอบ หนวด ขาสัมผัส เป็นต้น
    11. ระบบสืบพันธุ์เป็นสัตว์แยกเพศ มักมีการปฏิสนธิภายในตัว และออกลูกเป็นไข่ที่มีไข่แดงมาก ในขณะที่มีการเจิญเติบโตมักมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างไปด้วย


สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 6 คลาส ได้แก่


    1.Class Crusatacea ส่วนมากจะอยู่ในน้ำ มีตาประกอบ มีหนวด 2 คู่ มีขา 5 คู่ หรือมากกว่า รยางค์เป็น 2 แขนง ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) มีส่วนท้องเรียก แอบโดเมน (Abdomen) ส่วนมากหายใจด้วยเหงือก มีอวัยวะขับถ่าย คือ ต่อมเขียว (Green gland) สัตว์ในคลาสนี้ เช่น กุ้งน้ำจืด กุ้งทะเล ปู กั้ง ไรน้ำ ฯลฯ
    2.Class Merostoma มีส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) มีขา 5 คู่ ไม่มีหนวด ได้แก่ แมงดาทะเล แมงดาถ้วย แมงดาจาน
    3.Class Archnida ส่วนมากจะอยู่บนบก สัตว์ในคลาสนี้ไม่มีหนวด มีขา 4 คู่ ส่วนของหัวเชื่อมกับส่วนอก (Cephalothorax) และส่วนท้องแอบโดเมน (Abdomen) แยกออกหายใจทางช่องลม (Trachea) หรือแผงปอด (Book lung) หรือทั้งสองอย่าง สัตว์ในคลาสนี้แยกเพศกัน ได้แก่ แมงมุม แมงป่อง บึ้ง เห็บ ฯลฯ
    4.Class Insecta เป็นคลาสที่มีจำนวนชนิดมากที่สุด ประมาณ 1 ล้าน 5 แสนชนิด ได้แก่ พวกแมลงต่างๆ สัตว์ในคลาสนี้มีหนวด 1 คู่ มีขา 3 คู่ ไม่มีปีก หรือมีปีก 1-2 คู่ มีตาประกอบ มีส่วนของลำตัวแยกออกชัดเจนเป็น 3 ส่วน มีท่อลมเป็นอวัยวะหายใจ มีท่อมัลฟีเกียน (Mulpigian tubules) ไว้ขับถ่าย มีการเจริญเติบโตของตัวอ่อนเป็น 4 แบบ ได้แก่ ตัวสามง่าม ยุง แมลงวัน ผีเสื้อ แมลงปอ แมลงสาบ ปลวก มดจิ้งหรีด ตั๊กแตน ฯลฯ
    5.Class Diplopoda สัตว์ในคลาสนี้ เรียกว่า มิลลิบิด มีขาจำนวนมาก ลำตัวค่อนข้างกลม ยาว ประกอบด้วยส่วนหัวและส่วนอกสั้นๆ ประกอบด้วยปล้องประมาณ 25 ถึงกว่า100 ปล้อง ไม่มีต่อมพิษ มีหนวด 1 คู่ มีขาปล้องละ 2 คู่ มีตาเดี่ยว ได้แก่ กิ้งกือ กระสุนพระอินทร์
    6.Class Chilopoda สัตว์ในคลาสนี้ เรียกว่า เซนติบิด มีขาจำนวนมาก ประมาณปล้องละ 1 คู่ ลำตัวประกอบด้วยส่วนหัวและลำตัวยาวของอกติดกับท้อง มีประมาณ 15 ถึง 173 ปล้อง และปล้องที่หัวมีรยางค์ที่มีพิษอยู่ 1 คู่ มีหนวด 1 คู่ มีตาเดี่ยว เรียกว่า โอเซลลัส (Ocelles) หายใจทางท่อลม ได้แก่ ตะขาบ

ภาพสัตว์ในแต่ละคลาสของไฟลัมอาร์โทรโพดา
Mountains

CLASS CRUSATACEA
ปู

Lights

CLASS CRUSATACEA
กุ้งทะเล

Mountains

CLASS MEROSTOMA
แมงดาทะเล

Nature

CLASS ARCHNIDA
แมงมุม

Lights

CLASS ARCHNIDA
แมงป่อง

Nature

CLASS ARCHNIDA
บึ้ง

Mountains

CLASS INSECTA
แมลงวัน

Lights

CLASS INSECTA
ผีเสื้อ

Nature

CLASS INSECTA
แมลงปอ

Mountains

CLASS INSECTA
มด

Lights

CLASS INSECTA
ตั๊กแตน

Nature

CLASS CHILOPODA
ตะขาบ