ไฟลัมแอนนิลิดา

"สิ่งมีชีวิตมีปล้องจำพวกแรก ที่มีระบบกล้ามเนื้อ"

5. ไฟลัมแอนนิลิดา

โครงสร้างของไฟลัมแอนนิลิดา

เป็นกลุ่มที่มีสมมาตรต้านข้าง


    เป็นสิ่งมีชีวิตกลุ่มแรกที่มีเม็ดเลือดแดง (Hemoglobin) อยู่ในระบบโลหิต โดยระบบไหลเวียนโลหิตเป็นแบบปิด และมีการขับถ่ายแบบเนฟิเดียม (Nepridium) เช่น ไส้เดือนดิน, แม่เพรียง, ทากดูดเลือด และปลิง สิ่งมีชีวิตกลุ่มหนอนปล้องมีลักษณะลำตัวกลมยาวเป็นปล้องๆ โดยภายนอกสามารถมองเห็นได้เป็นวง และภายในมีเนื้อเยื่อกั้นระหว่างปล้อง (Septa) ภายในปล้องแต่ละปล้องประกอบไปด้วยเดือย (Seata) 4 คู่ อวัยวะขับถ่าย (Nephridia) 1 คู่ เส้นประสาท (Nerve) 3 คู่ ทางเดินอาหาร กับช่องลำตัวส่วนหนึ่ง และระบบประสาทยังประกอบไปด้วยปมสมอง 1 คู่ กับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง

    นอกจากนี้หนอนปล้องยังมีอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง คอหอย และหัวใจ อยู่ที่บริเวณหัว และมีเนื้อเยื่อถึง 3 ชั้น มีช่องลำตัวแท้จริง (Coelom) ซึ่งเป็นช่องลำตัวในเนื้อเยื่อมีโซเดิร์ม


ลักษณะสำคัญของสัตว์ในไฟลัมไนดาเรีย


    1. ร่างกายแบ่งเป็นปล้องอย่างแท้จริง มีสมมาตรแบบครึ่งซีก (Bilateral Symmetry)
    2. เนื้อเยื่อแบ่งออกเป็น 3 ชั้น ผนังร่างกายประกอบด้วย เอพิเดอร์มิส (Epidermis) ซึ่งมีชั้นคิวติเคิล (Cuticle) บางๆ ปกคลุมอยู่ ถัดเข้าไปเป็นชั้นกล้ามเนื้อวงกลม (Circular Muscle ) และกล้ามเนื้อชั้นในเป็นชั้นกล้ามเนื้อตามยาว (Longitudinal Muscle)
    3. มีรยางค์เป็นแท่งเล็กๆ เรียกว่า เดือย (Setae) เป็นสารไคติน (Citin) เช่น ไส้เดือนดิน (Earthworm) มีเดือยช่วยในการเคลื่อนที่ และการขุดรู ส่วนไส้เดือนทะเล (Polychaeta) มีเดือย และแผ่นขา หรือพาราโพเดีย (Parapodia) ยื่นออกมาทางด้านข้างของลำตัวใช้ในการเคลื่อนที่แต่ปลิงไม่มีรยางค์ใดๆ
    4. มีช่องตัวที่แท้จริง โดยช่องตัวถูกแบ่งออกเป็นห้องๆ และมีเยื่อกั้น (Septum) กั้นช่องตัวไว้ ภายในช่องตัวมีของเหลว (Coelomic Fluid) บรรจุอยู่ทำให้ร่างกายไม่แฟบ
    5. ทางเดินอาหารสมบูรณ์เป็นท่อยาวตลอดร่างกาย
    6. ระบบหมุนเวียนโลหิตเป็นแบบปิด (Closed Circulatory System) น้ำเลือดมีสีแดง เพราะมีฮีโมโกลบินละลายอยู่
    7. หายใจผ่านทางผิวหนัง หรือเหงือก
    8. ระบบขับถ่ายจะเป็นอวัยวะขับถ่าย ที่เรียกว่า เนฟริเดีย (Nephridia) อยู่ทุกปล้องๆ ละ 1 คู่ เนฟริเดียจะช่วยขับของเสียออกจากช่องตัว และกระแสโลหิตออกนอกร่างกายทางรูขับถ่าย (Nephridiopores)
    9. ระบบประสาทประกอบด้วย ปมประสาทสมอง (Cerebral Ganglia) ติดต่อกับเส้นประสาทใหญ่ด้านท้อง (Ventral Nerve Cord) ซึ่งทอดตามยาวของร่างกาย เส้นประสาทใหญ่ทางด้านหลังจะมีปมประสาทประจำปล้อง (Segment Ganglia) ปล้องละ 1 ปม
    10. หนอนปล้องบางชนิดเป็นกะเทย (Hermaphrodite) แต่มีการปฏิสนธิข้ามตัว เช่น ไส้เดือนดิน และปลิงน้ำจืด ซึ่งพวกนี้มีการเจริญเติบโตโดยไม่ต้องผ่านระยะตัวอ่อน หนอนปล้องบางชนิดมีเพศแยกกัน (Dioecious) และการเจริญเติบโตเป็นตัวเต็มวัยต้องผ่านระยะตัวอ่อน ที่เรียกว่า โทรโคฟอร์ (Trochophore) เช่น แม่เพรียง และเพรียงดอกไม้ ด้วยเหตุที่หนอนปล้องมีระยะตัวอ่อนแบบโทรโคฟอร์ เช่นเดียวกับพวกมอลลัสก์ที่อยู่ในทะเล ทำให้นักชีววิทยาเชื่อว่าสัตว์ทั้ง 2 กลุ่มจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด

สัตว์ในไฟลัมนี้แบ่งออกเป็น 4 คลาส ได้แก่


    1.Class Oligochaeta เช่น ไส้เดือนดิน
    2.Class Polychaeta เช่น แม่เพรียง ไส้เดือนทะเล
    3.Class Hirudinea เช่น ปลิงน้ำจืด ปลิงดูดเลือด ปลิงควาย ปลิงเข็ม
    4.Class Archiannelida เช่น แอนนีลิด ที่มีขนาดเล็กมาก เรียกว่า หนอนทะเล

ภาพสัตว์ในแต่ละคลาสของไฟลัมแอนนิลิดา
1 / 6
2 / 6
3 / 6
4 / 6
5 / 6
6 / 6

CLASS OLIGOCHAETA<br>หนอนแดง
CLASS POLYCHAETA<br>แม่เพรียง
CLASS HIRUDINEA <br>ปลิง
CLASS OLIGOCHAETA<br>ไส้เดือนดิน
CLASS POLYCHAETA<br>ไส้เดือนทะเล
CLASS ARCHIANNELIDA<br>หนอนทะเล