ไฟลัมมอลลัสกา

"สิ่งมีชีวิตที่มีลำตัวที่นิ่ม และมีเปลือกแข็งห่อหุ้ม"

7. ไฟลัมมอลลัสกา

โครงสร้างของไฟลัมมอลลัสกา

กลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีลำตัวอ่อนนิ่ม


    ไฟลัมไฟลัมมอลลัสกา (Mollusca) เป็นกลุ่มของสิ่งมีชีวิตที่มีลำตัวที่อ่อนนิ่ม เช่น หมึก, ทาก และหอยชนิดต่างๆ โดยสามารถพบได้ทั้งบนบก และในน้ำ


มีการสร้างเปลือกแข็งเพื่อห่อหุ้มตัว


    สิ่งมีชีวิตบางชนิดในไฟลัมมอลลัสกาอาจมีเปลือกแข็งที่สามารถสร้างได้จากสารประกอบแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) มาห่อหุ้มลำตัว หรือบางชนิดจะมี แมนเทิล (Mantle) ที่ทำหน้าที่สร้างเปลือกหุ้มลำตัว (Shell) หรือมุก


มีอวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส


    สิ่งมีชีวิตในกลุ่มนี้จะมีอวัยวะที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนแก๊ส คือ เหงือก (Gill) ที่สามารถพบได้ในช่องแมนเทิลของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในน้ำ ยกเว้นทาก ที่จะสามารถพบได้ที่บริเวณผิวตัว (Cerata) และหอยที่อยู่บนที่อาจจะพบในบริเวณปอดได้ นอกจากนี้สิ่งมีชีวิตบางชนิดจะมีเหงือกอยู่บริเวณรอบๆ ทวารหนักด้วย (Anal Gill)


ลักษณะสำคัญของสัตว์กลุ่มมอลลัสกา


    1. ลำตัวอ่อนนุ่น ปกคลุมด้วยเยื่อบาง ๆ เรียก Mantle ใช้สร้างเปลือก (Shell) หรือสร้างมุก
    2. มีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น ทางเดินอาหารสมบูรณ์ มีไตขับถ่าย 1-2-6 คู่
    3. มีระบบเลือดวงจรเปิด มีหัวใจ 1-2 ห้องบนและ 1 ห้องล่าง ยกเว้น ปลาหมึกมีระบบเลือดวงจรปิด
    4. พวกอยู่ในน้ำหายใจด้วยเหงือก อยู่บนบกหายใจด้วยปอด
    5. สมมาตรเหมือนกัน 2 ซีก
    6. การสืบพันธุ์มีทั้งพวกแยกเพศ สลับเพศและเป็นกระเทย


สัตว์ในไฟลัมนี้สามารถแบ่งได้ 5 คลาส


    1. Class Gastropoda เช่น หอยสังข์ หอยโข่ง หอยขม และหอยทาก
    2. Class Polyplascophora เช่น ลิ่นทะเล
    3. Class Pelecypoda เช่น หอยกาบ หอยนางรม หอยแครง หอยเสียบ
    4. Class Scaphopoda เช่น หอยงาช้าง
    5. Class Cephalopoda เช่น หมึกกล้วย หมึกกระดอง หมึกสาย หมึกยักษ์


ภาพประกอบไฟลัมมอลลัสกา
1 / 6
2 / 6
3 / 6
4 / 6
5 / 6
6 / 6

CLASS SCAPHOPODA<br>ทากดูดเลือด
CLASS GASTROPODA<br>หอยทาก
CLASS GASTROPODA<br>หอยแครง
CLASS PELECYPODA<br>เพรียงเจาะเรือ
CLASS POLYPLASCOPHORA<br>ลิ่นทะเล
CLASS CEPHALOPODA<br>หมึก